วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โคนัน ตัวด้วงแห่งฤดูใบไม้ผลิ 2/2

โคนัน ตัวด้วงแห่งฤดูใบไม้ผลิ 1/2

เพาะต้นสาคู

หนอนด้วงสาคู

รายการเส้นทางเศรษฐี ตอนด้วงสาคู 2

รายการเส้นทางเศรษฐี ตอนด้วงสาคู 1

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3

บทที่  3
วิธีการดำเนินการวิจัย

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา                ในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีการดำเนินการวิจัย  5 ขั้นตอน คือ
3.1   การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  เป็นการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น            และต้องการในการพัฒนาหลักสูตร  มี 4 ขั้น ประกอบด้วย  ขั้นที่ 1  การศึกษาเอกสาร ทฤษฎี             และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ขั้นที่ 2 การศึกษาสภาพปัญหาในการดำเนินงานของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา  ขั้นที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะที่เป็น The Best of the Best           ขั้นที่ 4  การกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม
3.2   การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม  เป็นการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม  เพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  มี 3 ขั้น ประกอบด้วย  ขั้นที่ 1 การสร้างโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม  ขั้นที่ 2 การตรวจสอบโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 3 การปรับปรุงโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม
3.3   การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม  เป็นการนำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้นแล้วไปตรวจสอบประสิทธิภาพ  มี 2 ขั้น ประกอบด้วย  ขั้นที่ 1 การศึกษา          ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความสอดคล้องความเหมาะสมและอันดับคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบความรู้ของหลักสูตรฝึกอบรม
3.4   การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม  เป็นการนำหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ  แล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากรเป้าหมาย  มี 4 ขั้น ประกอบด้วย  ขั้นที่ 1 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม  ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม  ขั้นที่ 3 การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม  ขั้นที่ 4 การประเมินดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม
3.5   การติดตามประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม  เป็นการติดตามประเมินผลหลังการฝึกอบรม  มี 2 ขั้น  ประกอบด้วย  ขั้นที่ 1 การติดตามประเมินผลหลังการฝึกอบรม ขั้นที่ 2             การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม    

รายละเอียดของขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  เพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีดังนี้
3.1  การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
การวิจัยขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาสถานศึกษา                  แบ่งเป็น  4 ขั้น ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1  การศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นนี้เป็นการศึกษาแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา        การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม โดยผู้วิจัยศึกษา
1.        แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ               ของบุคคล (ริชาร์จ  โบยาซิส (Boyatzis), 1982 ; นฤมล   กิจจานนท์, 2540 : 30 ; พงษ์ศักดิ์         พรณัฐวุฒิกุล, 2543 : 23; สุพจน์   ทรายแก้ว, 2545 : 46 ; อานนท์   ศักดิ์วรวิชย์, 2547 : 60 - 61 ;   ทองดี   ชัยพานิช, 2547 : 5 ; ณรงค์วิทย์   แสนทอง, 2547 : 27 ; สมชาย  พุกพล, 2548 : ออนไลน์; สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2548 ; ดนัย   เทียนพุฒ, 2549 : ออนไลน์ ; กนกอร  ปราชญ์นคร, 2550 : 90 และวิชัย   วงษ์ใหญ่, 2551 : 12)
2.        แนวคิดเกี่ยวกับการบ่มเพาะธุรกิจ ประกอบด้วย การบ่มเพาะความเชี่ยวชาญ                 หรือทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ การบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ (ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2549 : 6)
3.        แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย
3.1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มี 5 ขั้นตอน คือ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม
การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม การติดตามประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม (สกิลเบค(
Skilbeck), 1984 ; วิชัย  วงษ์ใหญ่, 2532 : 5-23; เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์(Saylor & Alexander), 1974 : 21-26 ; อติญาณ์   ศรเกษตริน, 2543 : 95-98 ; องอาจ   พงษ์วิสุทธิ์บุปผา, 2541 : 93-94 ;  สุเมตรา  ปลาตะเพียนทอง, 2543 : 60-74 ;
รัตติกรณ์   จงวิศาล, 2543 : 58-69 ; วิจิตร์พร  หล่อสุวรรณกุล, 2544 : 100 -107 ; สมชาติ   กิจยรรยง , 2544 : 45; อัจริยา  วัชราวัฒน์, 2544 : 137-138 ; ศิริพงษ์      เศาภายน, 2545 : 97-99 ; เกศริน  มนูญผล, 2544 ; ช่อเพชร  เบ้าเงิน, 2545 : 138 -140 ; วิยะดา  รัตนสุวรรณ, 2547 : 128-129 ; ฐิติพร  พิชญกุล, 2547 : 76-78  ; พจนีย์  มั่งคั่ง, 2549 : 122-125 ; บัณฑิต  ตั้งประเสริฐ, 2550 : 130-133 ; สุเมธ  งามกนก, 2549 : 94- 96 และกนกอร  ปราชญ์นคร,              2550 : 125-129) 
3.2      องค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม มี 7 ประการ  คือ  หลักการ                    และเหตุผลสมรรถนะที่ต้องการพัฒนา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมและระยะเวลาในการฝึกอบรม สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผล (ไทเลอร์ (Tyler), 1949 : 1 ; ทาบา (Taba), 1962 : 422 - 423 ; บิชอบ (Bishop), 1985 : 140 ; เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์, 2539 : 3-11 ; ธำรง บัวศรี, 2542 : 8 - 9 ; ยุวดี   ฦาชา, 2536 : 93 ; องอาจ  พงษ์พิสุทธิ์บุปผา, 2541 : 45 ; ช่อเพชร  เบ้าเงิน, 2545 : 110 - 112 ; ศิริพงษ์  เศาภายน, 2545 : 103 - 106 ;                                 วิยะดา   รัตนสุวรรณ, 2547 : 100 - 101 และพจนีย์  มั่งคั่ง, 2549 : 128 - 130)
3.3          การตรวจสอบประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย การทดลอง           ใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pretest- Posttest Design
ตามแนวคิดของแม๊กมิวแลน และชูแมชเชอร์ (
McMillan and Schumacher, 1989 : 312) และการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมกับประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ (E1/E2) ที่ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินประสิทธิภาพหลักสูตร โดยกำหนดเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) หรือต้องต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกิน 0.05 ของวรรณฉวี   คามีศักดิ์ (2539 : 53 - 54)
3.4          การศึกษาดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I) ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของกู๊ดแมน เฟลตเชอร์ และสนีเดอร์ (Goodman Fletchers and Schneider , 1980) โดยมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป (อ้างถึงใน ชัยยงค์  พรหมวงศ์และคณะ, 2521)
3.5          กระบวนการเรียนรู้  การเรียนรู้จากประสบการณ์ (คอล์บ (Kolb), 1984 ;  คูช์(Kuch), 1995 ; วัฒนาพร  ระงับทุกข์, 2542 ข : 32 ;  สุวิทย์   มูลคำ และอรทัย   มูลคำ, 2545 และสุวัฒน์   โสวรรณี, 2545) การเรียนรู้ตามสภาพจริง (วิชัย  วงษ์ใหญ่, 2542 : 10 - 15) การวัดและการประเมินผลตามสภาพจริง  (วิกกิ้น(Wiggins), 1989 ; วิชัย  วงษ์ใหญ่, 2542 : 16 - 18 ;                   สมนึก   นนธิจันทร, 2544 : 70 และสมศักดิ์   ภู่วิภาดาวรรธน์, 2544 : 101 - 110)
ขั้นที่ 2 การศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา
ขั้นนี้เป็นการศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงาน ของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา สถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่งข้อมูลด้านกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จำนวน 4  จังหวัด  คือ  จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ รวม 31 สถานศึกษา ๆ ละ 1 คน            รวม 31 คน  โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์นำแบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
1)            แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์  ประกอบด้วย  หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา              ในวิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน               4 จังหวัด  คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ รวม  31 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวม 31 คน ประกอบด้วย
(1)       จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย  วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
 วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณปริสุทโธ  วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย  วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี  วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา  วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา  วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง  วิทยาลัย การอาชีพพิมาย วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่  วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง  วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา รวม 12 แห่ง
(2)       จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย  วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ  วิทยาลัยสารพัดช่าง
ชัยภูมิ วิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์  วิทยาลัยการอาชีพแก้งคร้อ  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ รวม 5 แห่ง
(3)       จังหวัดบุรีรัมย์  ประกอบด้วย  วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์  วิทยาลัยเทคนิค
คูเมือง  วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์  วิทยาลัยการอาชีพนางรอง  วิทยาลัยการอาชีพสะตึก  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง รวม 7 แห่ง
(4)       จังหวัดสุรินทร์  ประกอบด้วย  วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์  วิทยาลัยอาชีวศึกษา
สุรินทร์  วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์  วิทยาลัยการอาชีพสังขะ  วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  วิทยาลัยการอาชีพท่าตูม  วิทยาลัยการอาชีพปราสาท รวม 7 แห่ง
2)            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา            แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเด็นการสัมภาษณ์ คือ ท่านคิดว่าการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษามีปัญหาในการดำเนินงานด้านใดบ้าง ปัจจัยที่เป็นปัญหาในการดำเนินงานแต่ละด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ด้านโครงการ ด้านบริการ ด้านการได้มาของผู้ต้องการบ่มเพาะ ด้านการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อการเป็นหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และด้านความต้องการจากเพื่อนร่วมงาน            จากหัวหน้าแผนกวิชาและจากผู้บริหารโดยผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบสัมภาษณ์ตามลำดับ ดังนี้
(1)       กำหนดประเด็นหลักในการสัมภาษณ์ตามกรอบแนวคิดในการวิจัย
  ระบุรายการข้อมูลที่ต้องการของแต่ละประเด็น
(2)           จัดทำร่างแบบสัมภาษณ์ และรายการข้อคำถามแต่ละประเด็น
ตัวอย่างแบบสอบถามสภาพการดำเนินงานของ
หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัด
นครราชสีมา ชัยภูมิ   สุรินทร์และบุรีรัมย์
คำชี้แจง ขอความร่วมมือในการตอบคำถามทุกข้อ
ตอนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ           ชาย              หญิง
2. อายุ …………ปี
3. ระดับการศึกษา            ตรี              โท             เอก
4. วิทยาลัยที่ท่านปฏิบัติงานอยู่คือ…..วิทยาลัย………………………
5. แผนกวิชาที่สังกัด………………………………………….
6. เคยผ่านการอบรมโครงการด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจมาจำนวน……..โครงการอะไรบ้าง ………………………………………………………………………………………………………
7. การนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมด้านการประกวดแผนธุรกิจจำนวน………..ครั้งอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………
ตอนที่ 2  การทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ
  ด้านโครงการ
1.  ในการให้คำปรึกษาท่านเคยให้คำปรึกษากับใครบ้าง กลุ่มนักศึกษา ชุมชน ตามหัวข้อต่อไปนี้
1.1  โครงการอาชีวะสร้างสรรค์  แปรผันสู่ธุรกิจ จำนวน……..โครงการมีดังต่อไปนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ด้านบริการ
2.  ท่านได้มอบหมายหรือ เสนอเพื่อแต่งตั้ง ทั้งบุคลภายนอกและหรือภายในสถานศึกษา ให้มีทีมงานที่ปรึกษาเฉพาะทางในด้านต่างๆต่อไปนี้ไว้บริการผู้ประสงค์เข้ารับการบ่มเพาะหรือเพื่อการเขียนแผนธุรกิจที่มีคุณภาพ
2.1  การบริหารการตลาด  จำนวน……….คน

ด้านการได้มาของผู้ต้องการบ่มเพาะ
3.  ท่านได้ผู้ต้องการบ่มเพาะมาด้วยวิธีใดบ้าง อย่างไร
3.1……………………………………………………………………………
ด้านปัญหาที่ท่านพบในศูนย์บ่มเพาะ
4.1 ปัญหาที่ 1…………………………………………………………………………
วิธีแก้………………………………………………………………………
ด้านการอบรมเพิ่มเติมเพื่อการเป็นหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะที่มีประสิทธิภาพ
………………………………………………………………………………………………………
ด้านความต้องการจากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้าแผนกวิชา ผู้บริหาร
………………………………………………………………………………………………………

ขอขอบคุณที่ตอบทุกคำถามเพื่อนำไปสู่โครงการการพัฒนาสมรรถนะ
หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา เพื่อการประกอบอิสระ
ว่าที่ร้อยตรีคันศร  คงยืน 085- 6138007
ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
(3)           ตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์ โดยนำเสนอผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญด้านการบริหารการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ด้านการบริหารธุรกิจ ด้านจิตวิทยาและการฝึกอบรมและด้านการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา  เพื่อตรวจสอบ
ความตรงตามเนื้อหาโดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (
Index of Congruence : IOC)  จากนั้นนำคะแนน
ของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละข้อมารวมกัน  เพื่อหาค่าความสอดคล้อง สำหรับรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ                  ที่ตรวจสอบเครื่องที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้
1. ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ รุญเจริญ
2. รองศาสตราจารย์ ดร. พนิต เข็มทอง
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิสิษฐ์ เพ่งอัมพร
4. อาจารย์ ดร. สรรเพชร นุศรีอัน
5. อาจารย์ ดร. บุษยา วงษ์ชวลิตกุล
6.อาจารย์ เจิดฤดี ชินเวโรจน์
7. อาจารย์ ดร. พิษณุ เพชรพัชรกุล
(4) นำแบบสัมภาษณ์ ไปทดลองสัมภาษณ์หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา
ในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน              โดยวิธีอาสาสมัครเพื่อตรวจสอบความชัดเจนและความครอบคลุมของคำถามในแบบสัมภาษณ์          โดยพิจารณาความเข้าใจต่อข้อคำถามว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่ และได้คำตอบที่ต้องการหรือไม่
(5) แก้ไขและปรับปรุงเป็นแบบสัมภาษณ์ฉบับสมบูรณ์ แล้วจึงนำไปเก็บรวบรวม
ข้อมูลจริง
3)       การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยติดต่อขอความร่วมมือจากหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา ทั้ง 31 คน            ซึ่งเป็นบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์  แต่ละท่านเป็นผู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการให้สัมภาษณ์              เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่สร้างขึ้น โดยผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์           ด้วยตนเองในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2551
4)       การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สรุปสาระ สำคัญ แจกแจงความถี่ของผู้ตอบแต่ละรายการ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์  พบว่า  สภาพการดำเนินงานของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษามีปัญหาใหญ่ ๆ  2  ประการ ดังนี้
(1) ปัญหาด้านงบประมาณ ประกอบด้วย
                              .ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสถานศึกษามากนัก
                              . ขาดเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานห้องทำงานห้องบ่มเพาะห้องเรียนพื้นฐาน (Basic) ห้องเรียนปฏิบัติการ (Basic + Software) และห้องเรียนปฏิบัติจริง (Advance) 
                              . ขาดการสนับสนุนเงินทุนเบื้องต้นในการทำธุรกิจให้กับนักศึกษา
                              . ขาดแหล่งทุนภายนอก เช่น สถาบันการเงิน แม้ว่าจะได้ทำข้อตกลง                ในความร่วมมือ แต่การกู้การขอสินเชื่อก็ยังไม่ราบรื่นเท่าไหร่นัก เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการ ของธนาคารอีกมากหลายขั้นตอน  แหล่งทุนจึงไม่ปล่อยสินเชื่อแบบง่าย ๆ ให้กับนักศึกษา สืบเนื่องจากแผนธุรกิจ และ/หรือตัวนักศึกษาที่เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือความเป็นไปได้ของการทำธุรกิจจากแผนธุรกิจที่ได้เสนอไป
(2) ปัญหาด้านบุคลากร ประกอบด้วย
                             . ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บ่มเพาะ
                                           . ขาดการสนับสนุนบุคลากรของสถานศึกษา
                                           . บุคลากรประจำศูนย์บ่มเพาะมีทิศทางในการดำเนินการไม่ชัดเจน
                                           . ขาดความรู้ความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจและการทำธุรกิจ
                                                   . ขาดประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจบางประเภท  ทำให้การ              ให้คำปรึกษาเป็นไปได้ไม่ดีนัก
                                                   . ขาดความเชื่อถือจากเจ้าของธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว
                                                   . การติดต่อประสานงาน
                                           . การสร้างเครือข่ายกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกยังไม่ดีเท่าที่ควร
อีกทั้งเพื่อนร่วมงานไม่รับรู้และไม่เข้าใจในภารกิจของศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาทำให้ขาด             การประชาสัมพันธ์ ที่ดีกับศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย
(3) ปัญหาด้านความต้องการในการฝึกอบรม
. การอบรมเป็นหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ
. การอบรมการบริหารจัดการศูนย์บ่มเพาะ
. การอบรมการเขียนแผนธุรกิจ
. การนำไปทัศนศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ
. การอบรมให้ความรู้ในกระบวนการทำงานศูนย์บ่มเพาะ
. การอบรมจากสถาบันคีนันแห่งเอเซีย
       . ต้องการรับการอบรมเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบ่มเพาะธุรกิจ
ที่ประสบผลสำเร็จที่เป็นหลักสูตรมาตรฐานแบบสากล เพื่อนำมาปรับใช้กับอาชีวศึกษา
ขั้นที่ 3 การศึกษาเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้า                  ศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย
ขั้นนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย  แหล่งข้อมูลด้านกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย หัวหน้า                ศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัยที่เป็น  The Best of the Best จากการอบรมบริกรธุรกิจ               ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และไปทัศนศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 10 คน ซึ่งผู้วิจัยเลือก            กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากจำนวน 15 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ โดยใช้ แบบสัมภาษณ์นำแบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
1)            แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา                    ในวิทยาลัยที่เป็น  The Best of the Best  จากการอบรมบริกรธุรกิจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไปทัศนศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ประกอบด้วย
                                            (1) นางฉัตรสิริ คงคะสุวรรณ วิทยาลัยกาญจนาภิเษก ช่างทองหลวง
         (2) นางประภัสสร อินโสตถี วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
         (3) นางเยาวเรศ วัชรคม วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
         (4) นางปราณี มงคลกุล วิทยาลัยเทคนิคพะเยา
         (5) นางสาวลัดดา ตันศรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด
         (6) นางสาวผานิต ไชยศิวามงคล วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์
         (7) นางสาวจารุวรรณ แดงมา วิทยาลัยสารพัดช่างชุมพร
         (8) นางพิมพ์สุคนธ์ ศรีน้อย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
         (9) นางฉวีวรรณ จันทรชิต วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
         (10) นางสุวรรณา วรกุล วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
2)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์
ความคิดเห็นโดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ                 ของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะที่มีต่อหน้าที่ในการบริหารจัดการศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา รวม
4 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายฝึกอบรม ฝ่ายบ่มเพาะ ฝ่ายนวัตกรรม และฝ่ายบริหารงาน เพื่อนำไปสู่การกำหนดสมรรถนะของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะที่ควรมีและนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม และกำหนดหน่วยบทเรียน เพื่อใช้ในฝึกอบรม โดยผู้วิจัยดำเนินการสร้าง             แบบสัมภาษณ์ตามลำดับ ดังนี้
                                            (1) กำหนดประเด็นหลักในการสัมภาษณ์ตามกรอบแนวคิดในการวิจัย ระบุรายการข้อมูลที่ต้องการของแต่ละประเด็น
                                            (2) จัดทำร่างแบบสัมภาษณ์ และรายการข้อคำถามแต่ละประเด็น
                                            (3) ตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์ โดยนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากนั้นนำคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ
ในแต่ละข้อมารวมกันเพื่อหาค่าความสอดคล้อง
                                            (4) นำแบบสัมภาษณ์ไปทดลองสัมภาษณ์หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา
ในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน
3 คน โดยวิธีอาสาสมัครเพื่อตรวจสอบความชัดเจนและความครอบคลุมของคำถามในแบบสัมภาษณ์                      โดยพิจารณาความเข้าใจต่อข้อคำถามว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่ และได้คำตอบที่ต้องการหรือไม่
ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ที่เป็น The Best of the Best
และได้ไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศ ญี่ปุ่น
ผู้ให้ข้อมูล ………................…………………….…วิทยาลัย............................................................
โทร............................................................E-Mail...............................................................................
วันที่สัมภาษณ์.......................................................................


สมรรถนะของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ
ภาระหน้าที่ของศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา
ฝ่ายบ่มเพาะ
ฝ่ายฝึกอบรม
ฝ่ายนวัตกรรม
ฝ่ายบริหารงาน
ความรู้




ทักษะ




คุณลักษณะ






                                            (5) แก้ไขและปรับปรุงเป็นแบบสัมภาษณ์ฉบับสมบูรณ์ แล้วจึงนำไป                  เก็บรวบรวมข้อมูลจริง
                                   3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                            (1) ผู้วิจัยเสนอบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อออกหนังสือเรียนหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัยที่เป็น The Best of the Best เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการให้สัมภาษณ์
                                            (2) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้                 แบบสัมภาษณ์นำแบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551                    ถึง  20 มกราคม พ.ศ. 2552
                                        4) การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปสาระสำคัญ
ขั้นที่ 4  การกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม
ขั้นนี้เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม  เพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา ดังนี้
                                   1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา
มีองค์ประกอบ
7 ประการ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมและระยะเวลาในการฝึกอบรม สื่อที่ใช้               ในการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผล
                                   2) สมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา สมรรถนะด้านการให้คำปรึกษาธุรกิจ สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง สมรรถนะด้านการบริหารจัดการธุรกิจ สมรรถนะด้านกฎหมายและจริยธรรมธุรกิจ  และสมรรถนะด้านการเขียนแผนธุรกิจ
                                   3) หน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้า                 ศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา มี 5 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  บทบาทที่ปรึกษาธุรกิจ                 หน่วยการเรียนรู้ ที่ 2  การจัดการตนเอง  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  การบริหารจัดการธุรกิจ  หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  กฎหมายและจริยธรรมธุรกิจ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 5  การเขียนแผนธุรกิจ
3.2   การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม
การวิจัยขั้นตอนนี้เป็นการเขียนโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะ               หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับกรอบความคิดในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม            โดยดำเนินการ 3 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1  การสร้างโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม
ผู้วิจัยนำข้อมูลพื้นฐานจากการวิจัยขั้นตอนที่ 1  มากำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม  ประกอบด้วย
                                   1) หลักการและเหตุผล พิจารณาจากการศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา จากข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 มากำหนดเป็นหลักการและเหตุผลของหลักสูตรฝึกอบรมและเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม
                                   2) สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา พิจารณาจากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนที่
1 มากำหนดเป็นสมรรถนะด้านการให้คำปรึกษาธุรกิจ สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง สมรรถนะด้านการบริหารจัดการธุรกิจ สมรรถนะด้านกฎหมายและจริยธรรมธุรกิจ และสมรรถนะด้านการเขียนแผนธุรกิจ โดยมีการสอบถามย้อนไปยังหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะในทุกภาค
รวม
100 วิทยาลัย ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 40 วิทยาลัย ภาคใต้ 18 วิทยาลัย ภาคเหนือ 16 วิทยาลัย ภาคตะวันออก 14 วิทยาลัย และภาคกลาง 12 วิทยาลัย โดยยืนยันเป็น 5 สมรรถนะดังกล่าว


ตัวอย่างแบบแสดงความคิดเห็นของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย
สังกัด  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
....................................................................................
แบบสอบถามความคิดเห็นฉบับนี้   จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูล   ความคิดเห็นของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่มีต่อสมรรถนะทั้ง 5 ด้าน ในด้านความเหมาะสมที่หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย ควรมี   ความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อนำไปฝึกอบรมให้กับหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป  ขอให้ท่านได้ตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริงและกรุณาส่งคืนด้วยครับ
ชื่อผู้ตอบแบบสอบถาม……………………………………………..เบอร์โทรติดต่อ……………….……
Email: …………………………………………….วิทยาลัย………………………………………………………
คำชี้แจง :   แบบสอบถามฉบับนี้แบ่งออกเป็น  3  ตอน
                                ตอนที่  1   เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                                ตอนที่  2   เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                                ตอนที่  3   เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น 
..............................................................................................................................................................
ตอนที่  1  เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบสอบถาม
โปรดทำเครื่องหมาย  ü ลงใน   ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ตอบ
   1.  การศึกษา
                                                Ÿ            ปริญญาตรี            Ÿ            สูงกว่าปริญญาตรี
                2.  ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะในวิทยาลัย
                                                Ÿ            ต่ำกว่า  2  ปี         Ÿ            สูงกว่า   2   ปี
                3.  ขณะนี้ท่านปฏิบัติหน้าที่
                                                Ÿ            ครูผู้สอน               Ÿ            หัวหน้าแผนก
                                                Ÿ            อื่น                     โปรดระบุ  ......................................................................
                4.  ท่านเคยอบรมหลักสูตรครูที่ปรึกษาผู้ประกอบการ (Serice  Provider)
Ÿ            เคย   เรื่อง………………………………………………        
Ÿ            ไม่เคย
5.  หากมีการฝึกอบรมท่านมีความประสงค์ในการฝึกอบรมหรือไม่       
Ÿ            มีความประสงค์   เรื่อง……………………………………………       Ÿ            ไม่มีความประสงค์
                6.  ช่วงเวลาที่ท่านต้องการในการฝึกอบรม
Ÿ            เดือน………………………………………………                 
Ÿ            ระยะเวลาในการฝึกอบรม…………..วัน
ตอนที่  2  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คำชี้แจง    โปรดทำเครื่องหมาย   ü   ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด

รายการประเมิน
มีความเหมาะสมในระดับ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
1. สมรรถนะด้านการให้คำปรึกษาธุรกิจ





2.  สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง





3. สมรรถนะด้านการบริหารจัดการธุรกิจ





4. สมรรถนะด้านกฎหมายและจริยธรรมธุรกิจ  





5.  สมรรถนะด้านการเขียนแผนธุรกิจ





6.  สมรรถนะอื่นๆที่ควรจะมี





      -






ตอนที่  3    ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นอื่น  ..............................................................................................................................................................
เมื่อตอบแบบสอบถามเสร็จแล้วกรุณาสอดใส่ซองที่แนบมาด้วยเพื่อส่งคืนวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา   ขอบพระคุณครับ

                                   3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม พิจารณาจากการศึกษาแนวคิดพื้นฐาน
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่สอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการพัฒนา
                                   4) เนื้อหาสาระและระยะเวลาของการฝึกอบรม พิจารณาจากเนื้อหาสาระ
ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม โดยกำหนดเนื้อหาเป็น
5 หน่วยการเรียนรู้            และกำหนดเวลา  รวมจำนวน 24 ชั่วโมง ประกอบด้วย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1     บทบาทที่ปรึกษาธุรกิจ                        จำนวน 4 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2     การจัดการตนเอง                        จำนวน 4 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3     การบริหารจัดการธุรกิจ                      จำนวน 4 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4     กฎหมายและจริยธรรมธุรกิจ            จำนวน 4 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5     การเขียนแผนธุรกิจ                             จำนวน 8 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
                                            (1) แนวคิด เป็นการอธิบายสาระสำคัญของหน่วยการฝึกอบรมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
                                            (2) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม เป็นการแสดงถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น           กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลังจากการฝึกอบรม
                                            (3) เค้าโครงเนื้อหา เป็นเนื้อหาและการฝึกกิจกรรมที่กำหนดไว้ให้ผู้เข้ารับ           การฝึกอบรมได้เรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
                                            (4) กิจกรรมการฝึกอบรม เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมบรรลุ          ตามวัตถุประสงค์ กำหนดให้สอดคล้องกับเนื้อหา ระยะเวลาและผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประกอบด้วย                     การบรรยาย อภิปราย การศึกษาใบงาน บทบาทสมมุติ กิจกรรมกลุ่ม และลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้ร่วมกันกับสมาชิกในกลุ่ม กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
                                            (5) สื่อการฝึกอบรม เป็นสื่อที่ใช้ประกอบการฝึกอบรม ประกอบด้วย เอกสารประกอบการฝึกอบรม คือ ใบความรู้ ใบงาน ใบกิจกรรม เอกสารความรู้ หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับ  การเสริมสรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ สื่ออิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และวัสดุสำหรับจัดกิจกรรมแต่ละหน่วยการเรียนรู้
                                            (6) การวัดและประเมินผล เป็นการประเมินผลระหว่างการฝึกอบรม โดยให้            ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลงาน              เป็นรายบุคคล การประเมินผลงานเป็นกลุ่ม ประเมินผลการฝึกปฏิบัติ และทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม ทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้
                                   5) กิจกรรมการฝึกอบรม ผู้วิจัยกำหนดกิจกรรมการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาสาระและระยะเวลาของหลักสูตรฝึกอบรมแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ด้วยการบรรยาย  อภิปราย  การศึกษาใบงาน  บทบาทสมมุติ  กิจกรรมกลุ่ม และลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้ร่วมกันกับสมาชิกในกลุ่มกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่  การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการเรียนรู้        จากประสบการณ์ทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้และใช้กระบวนการการเรียนรู้ตามสภาพจริง ใช้กิจกรรมการเรียนการสอน บทบาทผู้สอน สื่อการเรียนการสอน คละกันไปทั้ง 5 หน่วยเรียนรู้ เพื่อเสริมสมรรถนะดังกล่าวข้างต้น
                                   6) สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม ผู้วิจัยกำหนดสื่อฝึกอบรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และกิจกรรมการฝึกอบรม  ประกอบด้วย  เอกสารประกอบการฝึกอบรม คือ ใบความรู้ ใบงาน
ใบกิจกรรม เอกสารความรู้ สื่ออีเล็กทรอนิกส์  หลักการ  ทฤษฎีเกี่ยวกับการเสริมสรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ  คอมพิวเตอร์  และวัสดุสำหรับจัดกิจกรรมแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
                                   7) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ผู้วิจัยกำหนดการทดสอบวัดความรู้              ก่อนการฝึกอบรม และทดสอบหลังการฝึกอบรม ด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลัง          การฝึกอบรม อีกทั้งมีการประเมินการนำเสนอ ประเมินผลงานกลุ่ม ประเมินผลการฝึกปฏิบัติรายบุคคลทั้ง 5 สมรรถนะ
ขั้นที่ 2  การตรวจสอบโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม
ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความสอดคล้อง ความเหมาะสม แบบตรวจทานคุณภาพ  ของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม ประเมินความสอดคล้องและทดสอบคุณภาพในแต่ละองค์ประกอบกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ มีความสอดคล้อง               และมีคุณภาพเพียงใดก่อนนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้
                                   1) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มผู้ตรวจสอบความสอดคล้อง  ความเหมาะสม และคุณภาพ ของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมก่อนนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้จริง ประกอบด้วย  ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญด้านการบริหารการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา  ด้านการบริหารธุรกิจ  ด้านจิตวิทยาและการฝึกอบรมและด้านการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา จำนวน 7 คน
                                   2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1  แบบสอบถามความสอดคล้องขององค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นข้อความ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้อง 3 ระดับ คือ สอดคล้อง ไม่แน่ใจและไม่สอดคล้อง
ฉบับที่ 2  แบบสอบถามความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นข้อความ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม 5 ระดับ  ตั้งแต่ ความเหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และเหมาะสมน้อยที่สุด
ฉบับที่ 3  แบบสอบทานคุณภาพของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม  องค์ประกอบ             ของหลักสูตร และองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นข้อความ  เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้สอบทานคุณภาพหลักสูตร 5 อันดับ  ตั้งแต่มีคุณภาพดีมาก มีคุณภาพดี มีคุณภาพปานกลาง มีคุณภาพต่ำ             และมีคุณภาพต่ำมาก
ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม
ทั้ง
3 ฉบับ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                                            (1) ศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรฝึกอบรม กำหนดประเด็นที่ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้วเขียนเป็นข้อความ
                                            (2) นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาว่าครอบคลุมประเด็นที่ต้องการตรวจสอบหรือไม่ ทั้งประเด็นการประเมินลักษณะของข้อคำถาม          และความถูกต้องชัดเจนของภาษาที่ใช้
                                            (3) นำผลที่ได้รับจากการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ตรวจสอบครั้งสุดท้ายก่อนปรับปรุงให้เป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์
                                   3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการตรวจสอบโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม ผู้วิจัยนำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมและแบบประเมินโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน         7 คน ตอบโดยอิสระและขอคำแนะนำเพิ่มเติม หลังจากผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมแล้ว ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
                                   4) การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพ ความเหมาะสม และความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม มีรายละเอียด ดังนี้
                                    (1) การตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบหลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากนั้นนำคะแนนของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละข้อมารวมกันเพื่อหาค่าความสอดคล้อง ถ้าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่า 0.5 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ ถ้าต่ำกว่าจะต้อง            นำมาปรับปรุง
                                    (2) การตรวจสอบความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( )  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและแปลความหมายของค่าเฉลี่ยของคะแนนความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
เหมาะสมมากที่สุด                ให้คะแนน        5
เหมาะสมมาก                         ให้คะแนน        4
เหมาะสมปานกลาง              ให้คะแนน        3
เหมาะสมน้อย                        ให้คะแนน        2
เหมาะสมน้อยที่สุด               ให้คะแนน        1
การแปลความหมายความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม กำหนดคะแนนไว้ ดังนี้
เหมาะสมมากที่สุด                 อยู่ในช่วงคะแนน           4.50 - 5.00
เหมาะสมมาก                          อยู่ในช่วงคะแนน           3.50 - 4.49
เหมาะสมปานกลาง                อยู่ในช่วงคะแนน           2.50 - 3.49
เหมาะสมน้อย                         อยู่ในช่วงคะแนน           1.50 - 2.49
เหมาะสมน้อยที่สุด                 อยู่ในช่วงคะแนน           1.00 - 1.49
โดยกำหนดว่าโครงร่างของหลักสูตรฝึกอบรมควรมีความเหมาะสม ตั้งแต่คะแนน 3.50  ขึ้นไป
                                       (3) การตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างหลักสูตรใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและแปลความหมายของค่าเฉลี่ย              ของคะแนนคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้ (วิชัย  วงษ์ใหญ่, 2552 : 1-10)
มีคุณภาพดีมาก    ให้คะแนน           5
มีคุณภาพดี                                           ให้คะแนน                         4
มีคุณภาพปานกลาง                           ให้คะแนน                         3
มีคุณภาพต่ำ                                         ให้คะแนน                         2
มีคุณภาพต่ำมาก  ให้คะแนน           1
การแปลความหมายของคุณภาพโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม กำหนดคะแนนไว้ ดังนี้
มีคุณภาพดีมาก                        อยู่ในช่วงคะแนน           4.50 - 5.00
มีคุณภาพดี                                อยู่ในช่วงคะแนน           3.50 - 4.49
มีคุณภาพปานกลาง                อยู่ในช่วงคะแนน           2.50 - 3.49
มีคุณภาพต่ำ                              อยู่ในช่วงคะแนน           1.50 - 2.49
มีคุณภาพต่ำมาก                      อยู่ในช่วงคะแนน           1.00 - 1.49
โดยกำหนดว่าโครงร่างของหลักสูตรควรมีคุณภาพตั้งแต่คะแนน 3.50             ขึ้นไป
ขั้นที่ 3  การปรับปรุงโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม
ขั้นนี้เป็นการนำข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยกำหนดเกณฑ์การปรับปรุง คือ เมื่อผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป           มีความเห็นสอดคล้องกันโดยคำนึงถึงพื้นฐานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม              ที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย
                                            1) หลักการและเหตุผล ได้ปรับปรุงโดยเขียนหลักการและเหตุผล              ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพปัญหาและความต้องการของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา             ในวิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและปรับปรุงด้านภาษา
                                            2) สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา ได้ปรับปรุงด้านภาษาให้มีความกระชับ              และชัดเจนมากขึ้น
                                            3) วัตถุประสงค์ ได้จัดเรียงลำดับตามความสำคัญจำเป็น
                                            4) เนื้อหาสาระและระยะเวลา ได้ปรับขยายระยะเวลาให้เหมาะสม                  โดยจัดทำตารางแสดงการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
                                            5) กิจกรรมการฝึกอบรม ได้ปรับปรุงด้านภาษาและเขียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
                                            6) สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม ได้เพิ่มเอกสารให้ครอบคลุมกิจกรรม                    การฝึกอบรม ประกอบด้วย  ใบความรู้ ใบงาน ใบกิจกรรม เอกสารความรู้ หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ คอมพิวเตอร์ และวัสดุสำหรับจัดกิจกรรมแต่ละหน่วยการเรียนรู้
                                          7) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ได้ปรับปรุงภาษาที่ใช้                      ในแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
                                          8) หน่วยการเรียนรู้ ได้ปรับปรุงด้านภาษาให้มีความกระชับและชัดเจน              มากขึ้น




3. 3   การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม
การวิจัยขั้นตอนนี้ เป็นการนำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมที่ปรับปรุงแล้วไปตรวจสอบประสิทธิภาพด้วยการจัดประชุมระดมความคิดกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) โดยใช้ห้องประชุม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่จัดประชุม ดำเนินการใน  2 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1  การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม
ขั้นนี้เป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความตรงเชิงเนื้อหา
ของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม
(Content Validity) โดยการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรม
1) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มผู้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมก่อนนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้  ประกอบด้วย  ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญด้านการบริหารการศึกษา  ด้านการอาชีวศึกษา  ด้านการบริหารธุรกิจ ด้านจิตวิทยาและการฝึกอบรมและด้านการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ  ด้านการวัดผลและประเมินผล  รวม 8 คน ดังนี้
                                                    (1) รองศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย อินทรประวัติ
                                                    (2) รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริ เจริญวัย
                                                    (3) อาจารย์ ดร. ราชันย์  บุญธิมา
                                                    (4) อาจารย์ ดร. ฐิติรัตน์  มีมาก
                                                    (5) อาจารย์ ดร. จำเริญรัตน์  จิตต์จิรจรรย์
                                                    (6) อาจารย์ ดร. มัลลิกา  สังข์สนิท
                                                    (7) อาจารย์ ดร. ญาณภัทร  สีหะมงคล
                                                    (8) อาจารย์บุญส่ง จำปาโพธิ์
                                   2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยใช้ดัชนี               ความสอดคล้อง (IOC)  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความสอดคล้อง            ของหลักสูตรฝึกอบรมกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการนำแบบตรวจสอบความสอดคล้อง แบบตรวจสอบความเหมาะสม แบบสอบทานคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมมาใช้ในการเก็บข้อมูล โดยมีดังนี้
                                                         (1) กำหนดประเด็นหลัก ในการตรวจสอบความสอดคล้องความเหมาะสม อันดับคุณภาพ ตามกรอบแนวคิดในการวิจัย ระบุรายการข้อมูลที่ต้องการของแต่ละประเด็น
                   (2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ
 ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1  แบบสอบถามความสอดคล้องขององค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นข้อความ เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความสอดคล้อง 3 ระดับ คือ สอดคล้อง ไม่แน่ใจและไม่สอดคล้อง
ฉบับที่ 2  แบบสอบถามความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นข้อความ เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสม 5 ระดับ  ตั้งแต่ ความเหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และเหมาะสมน้อยที่สุด
ฉบับที่ 3  แบบสอบทานคุณภาพของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม  องค์ประกอบของหลักสูตร และองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นข้อความ  เพื่อให้ทรงคุณวุฒิได้สอบทานคุณภาพหลักสูตร 5 อันดับ  ตั้งแต่มีคุณภาพดีมาก มีคุณภาพดี มีคุณภาพปานกลาง                 มีคุณภาพต่ำ และมีคุณภาพต่ำมาก
                                   3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการตรวจสอบประสิทธิภาพของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม ผู้วิจัยนำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมและแบบประเมินโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ตอบโดยอิสระและขอคำแนะนำเพิ่มเติม หลังจากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบประสิทธิภาพของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมแล้ว ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
                                   4) การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบตรวจสอบความสอดคล้อง ระหว่างเนื้อหาวิชา                กับวัตถุประสงค์การฝึกอบรม จากการความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทั้งนี้การประเมินความคิดเห็นมีคำถามปลายเปิดเพื่อถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนท้ายของแบบประเมิน
เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์
ขั้นที่ 2  การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบความรู้ของหลักสูตรฝึกอบรม
ขั้นนี้เป็นการตรวจสอบคุณภาพ ของแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกอบรม โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                                   1) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ประกอบด้วย  ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญด้านการบริหารการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา  ด้านการบริหารธุรกิจ  ด้านจิตวิทยาและการฝึกอบรมและด้านการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา รวม 7 คน และกลุ่มที่ใช้ในการตรวจสอบหาค่าความยาก           หาค่าอำนาจจำแนก และวัดความเชื่อมั่น (reliability) ของเครื่องมือ ประกอบด้วย กลุ่มผู้เข้ารับการอบรมที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 20 คน
                                   2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม           มี 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1  เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ  ตำแหน่ง แผนกวิชาที่สังกัด
ตอนที่ 2  เป็นคำถามวัดความรู้ ในเรื่องบทบาทที่ปรึกษาธุรกิจ  การจัดการตนเอง  การบริหารธุรกิจ  กฎหมายและจริยธรรมธุรกิจ   และการเขียนแผนธุรกิจ
ตอนที่ 3  เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แสดงความคิดเห็น           และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และรูปแบบการปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งข้อคิดเห็นอื่น ๆ
ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบทดสอบวัดความรู้ สร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบ โดยยึดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อกำหนดข้อสอบ และกำหนดขั้นตอนในการวัดผลเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยข้อสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-4  มีจำนวนหน่วยละ 20 ข้อ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5                  มีจำนวน 30 ข้อ รวมทั้งสิ้น 110 ข้อ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                                                    (1) กำหนดประเด็นหลักในการทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมครอบคลุมองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม
               (2) จัดทำร่างแบบทดสอบความรู้และรายการข้อคำถามแต่ละประเด็น
มี 4 ตัวเลือก
                                                    (3) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบความรู้ โดยนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ               จำนวน 7 คน ตอบโดยอิสระและขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา              (Content Validity) โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC)
                                   3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
      การเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินแบบทดสอบวัดความรู้ก่อน และหลังการฝึกอบรม หลังจากผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบความรู้แล้ว นำแบบทดสอบ        ไปทดสอบกับหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน หลังจากนั้นนำ ผลที่ได้  มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น ค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบความรู้
                                   4) การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์แบบทดสอบความรู้ จากความคิดเห็น             ของผู้เชี่ยวชาญ จากค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 0.50 ในส่วนของการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น ทำการวิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ค่าความยาก                  ค่าอำนาจจำแนกของบุญชม  ศรีสะอาด ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นำแบบทดสอบความรู้ที่เข้าเกณฑ์จำนวน 80 ข้อ  ผลการวิเคราะห์ข้อสอบต้องมีค่าความเชื่อมั่นเฉลี่ย ที่ยอมรับได้          คือ ตั้งแต่ 0.80-1.00  ซึ่งแบบทดสอบที่ดีต้องมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 0.80  มีค่าความยาก ในช่วง 0.20-0.80  และค่าอำนาจจำแนกในช่วง  0.20-1.00 จึงพิมพ์แบบทดสอบความรู้เป็นฉบับจริง                  เพื่อนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มทดลอง
3.4   การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม
การวิจัยขั้นตอนนี้เป็นการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ดำเนินการเป็น 4 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1  การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม
ขั้นนี้เป็นการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และทำการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ               ก่อนการฝึกอบรม (Pre-test) และทดสอบหลังการฝึกอบรม (Post-test)
1) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย  เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 12  วิทยาลัย  จังหวัดชัยภูมิ              จำนวน 5 วิทยาลัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 7 วิทยาลัย และจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 7 วิทยาลัย                  รวม 31 วิทยาลัย ๆ ละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 31 คน
2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระและระยะเวลา กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม การวัด           และประเมินผลการฝึกอบรม


3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                                (1) ผู้วิจัยเสนอบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อออกหนังสือเรียนถึงผู้ประสานงาน จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 เพื่อขอความอนุเคราะห์หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม
                                                (2) ผู้วิจัยทำการทดสอบวัดความรู้ก่อนการฝึกอบรม และทดสอบหลังการฝึกอบรม ด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม รวมทั้งประเมินการนำเสนอ ประเมินผลงานกลุ่ม ประเมินผลการฝึกปฏิบัติรายบุคคลทั้ง 5  สมรรถนะ
                                                (3) ผู้วิจัยดำเนินการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมกับหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรเป้าหมาย ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม        พ.ศ. 2552 โดยใช้หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เป็นสถานที่ฝึกอบรม  รวมเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 3 วัน ๆ ละ 8 ชั่วโมง รวม 24 ชั่วโมง
ขั้นที่ 2  การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบวัดความรู้ก่อน                และหลังการฝึกอบรม
ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบด้วยการหาค่า              t-test (Dependent) แบบ  One-tailed test (t-test) ของคะแนนทดสอบความรู้ก่อนการฝึกอบรม               กับคะแนนทดสอบความรู้หลังการฝึกอบรม
ขั้นที่ 3  การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม
ผู้วิจัยทำการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมในแต่ละหัวข้อวิชา  เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการฝึกอบรมและผลสัมฤทธิ์ 80/80 (E1/E2) ของวรรณฉวี  คามีศักดิ์ (2539 : 53- 54) ; สำเริง  บุญเรืองรัตน์ (2539 : 95) โดยพิจารณาจาก
                                            1) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสอบผ่านวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม                           ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกหน่วย เมื่อคิดเป็นร้อยละ เท่ากับร้อยละ 80
                                            2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะ 5 ด้าน คือ สมรรถนะด้านการให้คำปรึกษาธุรกิจ สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง สมรรถนะด้านการบริหารจัดการธุรกิจ สมรรถนะด้านกฎหมายและจริยธรรมธุรกิจ และสมรรถนะด้านการเขียนแผนธุรกิจ ซึ่งวัดได้จากแบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการนำเสนอ แบบประเมินผลงานกลุ่ม แบบประเมินการฝึกปฏิบัติรายบุคคล    ทั้ง 5 สมรรถนะ
                                            3) การประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมกับประสิทธิภาพ                      ของผลสัมฤทธิ์ (E1/E2) โดยกำหนดเกณฑ์ 80/80
                                            . 80 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมตามหลักสูตร (E1) คำนวณได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนวัดสมรรถนะจากการทำกิจกรรมในแต่ละหน่วยการเรียน         ได้ถูกต้อง ชัดเจน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                                            . 80 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมตามหลักสูตร (E2) คำนวณได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนวัดสมรรถนะหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมทุกหน่วยบทเรียน        ได้ถูกต้อง ชัดเจน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
จากสูตร      
                E1  =    [ ( å X / n ) / A ]    x 100             

                                                เมื่อ  E1                 แทน  ประสิทธิภาพของกระบวนการ
                                              å X      แทน  คะแนนรวมของแบบฝึกหัด
                                              A             แทน  คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
รวมกัน
                                             n              แทน  จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด

             E2  =    [ ( å F / n ) / B ]    x 100

เมื่อ  E2                 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
                                             å F       แทน คะแนนรวมของการสอบหลังเรียนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
                                             B             แทน คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน
                                             n              แทน จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ขั้นที่ 4  การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม
ผู้วิจัยนำผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมไปวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effective ness Index : E.I) ของ Goodman, Fletchers และ Schneider (1980) โดยค่าดัชนีประสิทธิผลที่ได้จะต้องมากกว่า 0.50 หรือมากกว่าร้อยละ 50  ทั้งนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม                 มีคะแนนทดสอบความรู้หลังการฝึกอบรมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้  จึงจะถือว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิผล
จากสูตร      
                                                                Posttest score - Pretest score
                       E.I.               =            
                                                   Maximum possible score - Pretest score
                       E.I.                                                                               แทน ค่าดัชนีประสิทธิผล
                       Posttest score                                             แทน คะแนนทดสอบหลังการฝึกอบรม
                       Pretest score                                               แทน คะแนนทดสอบก่อนการฝึกอบรม
                       Maximum possible score                        แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบความรู้
3.5   การติดตามประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม
การวิจัยขั้นตอนนี้แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1  การประเมินผลหลังการฝึกอบรม
ขั้นนี้เป็นการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมหลังการฝึกอบรมไปแล้ว 1 เดือนว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับใด โดยทำการประเมินใน 3 ส่วน  คือ              1) การประเมินที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติหน้าที่ของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา               ผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยผู้บังคับบัญชา  2)  การประเมินการนำความรู้ไปใช้และความพึงพอใจ               ในผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  3) การประเมิน ความพึงพอใจที่ได้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่ของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย   ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  โดยใช้รูปแบบการประเมินตามสภาพจริง ประกอบด้วย การทำกิจกรรม                  ที่สัมพันธ์กับการบ่มเพาะ การทำโครงงาน การมีแผนปฏิบัติการ การทำตามแผน และการ                 ผลิตผลงาน
                                        1) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
                                            (1) ผู้อำนวยการวิทยาลัยหรือรองผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสุรินทร์        และจังหวัดบุรีรัมย์ รวม 31 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวม 31 คน ที่เป็นผู้บังคับบัญชาของหัวหน้าศูนย์              บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัยผู้เข้ารับการฝึกอบรม
                                            (2) หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือผู้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ รวม 31 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวม 31 คน
                                            (3) ผู้รับบริการจากหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาหลังจากผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น จำนวน 31 คน
                                   2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 3 ฉบับ
ฉบับแรก เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาเพื่อประเมินลักษณะทางพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปในการปฏิบัติงาน ฉบับที่
2 สอบถาม
ความคิดเห็นของหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา หลังจากผ่านการฝึกอบรม ฉบับที่
3 สอบถามความคิดเห็นของผู้มารับบริการจากหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา ที่ผ่านการฝึกอบรม ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบสอบถามทั้ง 3 ฉบับ ตามลำดับ ดังนี้
                                        (1) กำหนดประเด็นหลักในการสอบถามตามกรอบแนวคิดในการวิจัย ระบุรายการข้อมูลที่ต้องการของแต่ละประเด็น
                                        (2) จัดทำร่างแบบสอบถามและรายการข้อคำถามแต่ละประเด็น โดยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งตัวเลือก 5 ระดับ คือ 5, 4, 3, 2 และ 1 ตามเกณฑ์ดังนี้
5     หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า มากที่สุด
4     หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า มาก
3     หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า ปานกลาง
2     หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า น้อย
1                      หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า น้อยที่สุด
                                        (3) ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม โดยนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง ตรวจสอบและวัดความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการสุ่มมาศึกษาจำนวน 20 คน หลังจากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ใช้การหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
                                   3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผู้วิจัยติดต่อขอความร่วมมือ                    จากต้นสังกัดของกลุ่มประชากรที่จะตอบแบบสอบถามเพื่อขอหนังสืออนุญาตและขอความร่วมมือ
ในการวิจัย โดยจัดส่งแบบสอบถามไปให้กลุ่มประชากรที่เป็นผู้บังคับบัญชา หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ อาชีวศึกษาผู้เข้ารับการฝึกอบรม และผู้รับบริการ ทางไปรษณีย์และขอรับแบบสอบถามคืน ทางไปรษณีย์
                                   4) การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ส่วนที่เป็นแบบเลือกตอบใช้วิธีแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ส่วนที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าใช้การหาค่าเฉลี่ย ( ) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยกำหนดค่าของคะแนนของคำตอบหรือตัวเลือกแต่ละระดับ                  (บุญชม  ศรีสะอาด, 2545 : 30 - 35) ดังนี้
ระดับคำตอบ 5 หมายถึง มากที่สุด           กำหนดให้ค่าคะแนนเท่ากับ 5
ระดับคำตอบ 4 หมายถึง มาก                    กำหนดให้ค่าคะแนนเท่ากับ 4
ระดับคำตอบ 3 หมายถึง ปานกลาง         กำหนดให้ค่าคะแนนเท่ากับ 3
ระดับคำตอบ 2 หมายถึง น้อย                   กำหนดให้ค่าคะแนนเท่ากับ 2
ระดับคำตอบ 1 หมายถึง น้อยที่สุด           กำหนดให้ค่าคะแนนเท่ากับ 1
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้เป็น 5 ระดับ ตามเกณฑ์การแบ่งช่วงเท่ากัน ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            4.50 – 5.00         หมายถึง     เป็นค่าระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            3.50 – 4.49         หมายถึง     เป็นค่าระดับมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            2.50 – 3.49         หมายถึง     เป็นค่าระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            1.50 – 2.49         หมายถึง     เป็นค่าระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            1.00 – 1.49         หมายถึง     เป็นค่าระดับน้อยที่สุด
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความแตกต่างของความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง
การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีความหมาย ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            4.50 – 5.00         หมายถึง     ดำเนินการได้มากที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            3.50 – 4.49         หมายถึง     ดำเนินการได้มาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            2.50 – 3.49         หมายถึง     ดำเนินการได้ปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            1.50 – 2.49         หมายถึง     ดำเนินการได้น้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง            1.00 – 1.49         หมายถึง     ดำเนินการได้น้อยที่สุด
ขั้นที่  2 การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม
หลังจากที่ได้นำหลักสูตรไปทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมแล้ว ผู้วิจัยได้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนที่ 4 รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาผู้เข้ารับการฝึกอบรม และผู้รับบริการ มาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อให้มีความถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา